เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้านได้แก่
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ได้ในหลายลักษณะ เช่น
1.1 การจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
-ระบบเดี่ยว
-ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร
1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ
1.3 งานจัด เก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครื่อข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์ และวิดีทัศน์ เป็นต้น
1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
2. การการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
สถาบันการเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนโอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ และดาวเทียม เป็นต้น
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(Hospital Information System : HIS) นำมาใช้ในงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน เป็นต้น
5.2 ระบบสาธารณสุข นำมาใช้ในด้านการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)
6.2 การ ศึกษาทางไกล มีหลายแบบ เช่น การเรียนการสอนผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ไปจนถึงระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม(Direct ToHome : HTM) หรือการประชุมทางไกล(Vedio Teleconference)
6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา
มีโอกาสใช้เครือข่ายแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และการใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา
6.4 การใช้งานห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ การใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง เป็นต้น
6.6 การใช้ในงานประจำ และบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนนักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้อาจารย์สามารถติดตามและดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
ตั้งใจเรียนนะครับ
ตอบลบ